|
สื่อประชาสัมพันธ์ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2568 |
 |
องค์การบริหารส่วนตำบลชุมภูพร ขอประชาสัมพันธ์ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด นิยาม : คำว่าคลอดก่อนกำหนดต้องเข้าใจการ คลอด “ครบกำหนด” ในทางการแพทย์ คือคลอดในช่วงอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ คลอดก่อนกำหนด คืออะไร ดังนั้น การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ส่วนถ้าคลอดก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์จะเรียกว่า “แท้ง” เพราะฉะนั้น คำว่า “คลอดก่อนกำหนด” คือการคลอดในช่วงอายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์กับ 6 วัน ซึ่งก็มีวิธีการแบ่งย่อยไปอีก เช่น ถ้าคลอดในช่วงอายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ 6 วัน เรียกว่า Late Pre-term ก็คือ การคลอดก่อนกำหนดช่วงหลัง ภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อยกว่าการคลอดก่อนกำหนดในช่วง อายุครรภ์ 33 สัปดาห์กับ6 วันลงมา ซึ่งเรียกว่า Early pre-term ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น อันตรายของ เด็กคลอดก่อนกำหนด อันดับแรก คือ “เสียชีวิต” เด็กคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก รวมถึงยังมีโอกาสที่จะพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง มีภาวะเลือดออกในลำไส้ เด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั้น อวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หรือเส้นเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ยังไม่พร้อม กรณีที่พบได้บ่อยคือตาบอดเพราะเด็กกลุ่มนี้จะได้รับออกซิเจนเป็นเวลานานซึ่งมีผลกับตาทำให้มีโอกาสตาบอดได้และในระยะยาวอาจจะพบปัญหาคือเจริญเติบโตได้ช้าเพราะเด็กกลุ่มนี้จะตัวเล็กทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย อวัยวะทำงานได้ไม่ดีเท่าเด็กทั่วไป เวลาโตขึ้นก็อาจจะเป็นโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมันสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ จึงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ปัจจัยเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด ในทางสถิติ ประเทศไทยมีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอยู่ที่ประมาณ 12%ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญ คือ 1. แม่มีปากมดลูกสั้น ถ้ามีการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดพบว่าปากมดลูกของแม่มีความยาวไม่ถึง 2.5 ซม.โอกาสคลอดก่อนกำหนดก็จะสูงขึ้น ส่วนในกรณีครรภ์แฝด จะมีกลไกที่ต่างออกไป คาดว่าเกิดจากการที่มดลูกมีการขยายตัวเร็วกว่าปกติ 2. ถ้าแม่ตั้งครรภ์หรือคนในครอบครัวมีประวัติว่าเคยคลอดก่อนกำหนด ก็จะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้สูงขึ้น 3. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ครรภ์แฝด แม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ก็อาจจะมีผลให้ทารกจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด สัญญานเตือน อาการคลอดก่อนกำหนด 1. มีภาวะความดันโลหิตสูง 2. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด 3. มีอาการน้ำเดิน 4. รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยผิดปกติ 5. มีอาการท้องแข็งบ่อย การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
|
|
|
|